งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายอิศรา พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89173 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)
Effect of Chemical and Liguid Biostimulant Fertilizer on Growth and Yield of Eggplant (Tomahawk F1)
โดย นายอิศรา พุ่มจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 18 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนดอกเฉลี่ยทั้งหมด จำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล ความยาวเฉลี่ยของผล และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผลมากที่สุด คือ 67.06 เซนติเมตร 67.02 เซนติเมตร 19.12 ดอก 9.28 ดอกต่อต้น 27.00 เซนติเมตร และ 263.54 กรัมต่อผล ในขณะเดียวกันก็ให้ผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 8.21 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลไก่ (กลุ่มทดลองที่ 2) มีแนวโน้มให้ค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดน้อยที่สุด ยกเว้นจำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมีค่าปานกลาง ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด (13.89 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นในการเพาะปลูกมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักจากพืช จะมีประสิทธิภาพมากกว่าปุ๋ยน้ำหมักมูลสัตว์ และปุ๋ยน้ำหมักจากพืชที่เหมาะสมที่สุดคือ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา เพราะให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
ผู้วิจัย สมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88266 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร
Production of Rice Straw Mushroom Spawn from Cow Buffalo and Pig Manures
โดย นายสมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร เพื่อเปรียบเทียบกับเชื้อทางการค้า โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 4 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ตะกร้า ผลการทดลอง พบว่า การเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟาง และระยะเวลาที่ใช้ในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนออกดอก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11.13 – 12.27 วัน และ 6 – 7 วัน ตามลาดับ ส่วนจานวนดอกเฉลี่ยที่ออกในแต่ละตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ มีจานวนดอกมากที่สุดคือ 16.66 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาคือ เชื้อเห็ดทางการค้า เชื้อเห็ดจากมูลโค และ เชื้อเห็ดจากมูลสุกร โดยมีจานวนดอกเฉลี่ย 14.40 10.06 และ 9.86 ดอกต่อตะกร้า ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.05) ในขณะที่น้าหนักผลผลิตของเห็ดฟางเฉลี่ยต่อ
ตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดทางการค้าให้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ 272.07 กรัมต่อตะกร้า รองลงมา คือ เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ เชื้อเห็ดจากมูลโค และเชื้อเห็ดจากมูลสุกร 213.60 141.07 และ 108.47 กรัมต่อตะกร้า แสดงให้เห็นว่าเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้จากเชื้อเห็ดจากมูลโค เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ และเชื้อเห็ดจากมูลสุกรได้ดี แต่ขนาดของดอกเล็ก และทาให้ได้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยน้อยลง ส่วนเชื้อเห็ดทางการค้า (ชุดควบคุม) ขนาดดอกสม่าเสมอและได้น้าหนักดีกว่า หากต้องการใช้มูลสัตว์ทดแทน เชื้อเห็ดทางการค้า แนะนาให้ใช้การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลกระบือ เนื่องจากมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ไม่แตกต่างจากเชื้อเห็ดทางการค้า
คาสาคัญ เห็ดฟาง เชื้อเห็ดทางการค้า มูลโค กระบือ สุกร
แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41
ผู้วิจัย นริศรา ชาวนา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88842 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
เรื่อง ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำจากแหนแดงต่อผลผลิตของผักขึ้นฉ่าย
Effect of Chitosan and Azolla Aqueous Fertilizer on
Chinese Celery Yield
โดย นางสาวนริศรา ชาวนา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของสารไคโตซานและปุ๋ยน้ำแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำ ได้แก่ การใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรการใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง อัตรา 1:100 การใช้ปุ๋ยเกร็ดเคมีสูตร 25-5-5 อัตรา 50กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรและการใช้น้ำเปล่า หลังจากเก็บข้อมูลก่อนใช้สารและหลังใช้สารทุกๆ 7 วัน พบว่าการใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักผลผลิตสดต่อแปลง และต่อต้น รวมถึงจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด คือ 7.9 กิโลกรัมต่อแปลง 320 กรัมต่อต้น และ 18.4 ต้นต่อกอ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น มีค่าปานกลาง คือ 20.41 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยเกร็ดเคมีตราทุ่งเศรษฐี ในขณะที่การใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง มีค่าปานกลางในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช้สาร
ผู้วิจัย จตุรพร ผิวจันทร์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88372 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง